การเปิดตัวโครงการบ้านหนังสืออัจฉริยะ
วันจันทร์ที่ 29 เมษายน พ.ศ. 2556
บ้านหนังสืออัจฉริยะ
บ้านหนังสืออัจฉริยะกศน.กระจายความรู้
'บ้านหนังสืออัจฉริยะ'กศน.ดอกเห็ดเล็กๆกระจายความรู้สู่ชุมชน
"บ้านหนังสืออัจฉริยะ"
ที่สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย (กศน.)
เร่งตั้งขึ้นตามหมู่บ้านต่างๆ ให้ครบ 41,800 แห่ง ภายในปี 2556
นั้น
แต่ละแห่งจะได้รับงบประมาณสำหรับจัดซื้อหนังสือพิมพ์รายวันจำนวน 2 ฉบับต่อวัน หนังสือนิตยสารรายสัปดาห์ เดือนละ 4 ฉบับ
หนังสือนิตยสารรายปักษ์ เดือนละ 2 ฉบับ นอกจากนั้น
เครือข่ายของ กศน.ในพื้นที่จะระดมความร่วมมือจากทุกภาคส่วนจัดหาหนังสืออื่นๆ
มาให้เพิ่มเติมด้วย ถ้าเป็นตามนี้ "บ้านหนังสืออัจฉริยะ" จะเป็นเช่นดัง
"ดอกเห็ด" ที่ผุดขึ้นถ้วนทั่วทุกชุมชน เพื่อเป็นเครื่องมือเล็กๆ
แต่ใกล้ตัวประชาชน สำหรับพัฒนานิสัยรักการอ่านให้แก่ผู้คนทุกเพศทุกวัย
ป้าทองลั่น นามกูล วัย 65 ปี เปิดบ้านชั้นเดียวที่พักอาศัยอยู่เป็น
บ้านหนังสืออัจฉริยะ ใน ต.บ้านกล้วย อ.บ้านหมี่ จ.ลพบุรี
ก่อนหน้านี้บ้านของ ป้าทองลั่น ก็ให้บริการเล็กๆ น้อยๆ
ในด้านนี้อยู่แล้ว เพราะความที่ ป้าทองลั่น เป็นคนชอบอ่านหนังสือมาแต่ไหนแต่ไร
บ้านแห่งนี้จึงรับหนังสือพิมพ์มาไม่เคยขาดตั้งแต่ปี 2519 ซึ่งหนังสือพิมพ์ราคาแค่ 1
บาท บางครั้งก็รับนิตยสารด้วย อย่างเช่น ขวัญเรือน กุลสตรี
ชาวบ้าน เด็กๆ ในหมู่บ้าน จึงมาอาศัยอ่านหนังสือพิมพ์
นิตยสารที่บ้านแห่งนี้เป็นประจำ บ้านป้าทองลั่น กลายเป็นแหล่งพบปะย่อมๆ
ของในหมู่บ้าน เมื่อ กศน.ทำโครงการส่งเสริมการอ่านก็ได้นำหนังสือบางส่วนมาประจำไว้ที่บ้านหลังนี้
และในที่สุด คุณป้าทองลั่น ซึ่งปัจจุบันเป็นนักเรียนของ กศน.ระดับ ม.ต้น อยู่
ได้ตัดสินใจเข้าร่วม โครงการบ้านหนังสืออัจฉริยะ เปลี่ยนบ้านตัวเองให้เป็น
"คลังปัญญาของชุมชน"
"หนังสือเป็นประโยชน์ต่อคนทุกเพศทุกวัย
บางคนไม่มีโอกาสได้เรียนสูงๆ ก็ได้อาศัยหนังสือเป็นตัวเพิ่มพูนความรู้ให้เจ้าตัว
อย่างที่หมู่บ้านนั้น คนที่มาอ่านหนังสือเป็นประจำ คือ กลุ่มผู้สูงอายุ
อยู่บ้านว่างๆ ไม่มีอะไร ก็จะมาขอยืมหนังสือไปอ่าน ทำให้ได้ความรู้ต่างๆ เพิ่มเติม
เช่น เรื่องใกล้ตัวอย่าง พืชผัก สมุนไพร
พวกเขาก็ได้ความรู้เพิ่มเติมไปใช้ในชีวิตประจำวันได้" ป้าทองลั่น กล่าวและว่า
ถ้ามีห้องสมุดอยู่ในชุมชนจะช่วยปลูกฝังนิสัยรักการอ่านให้คนไทยได้มากขึ้น
และวิธีปลูกฝังนิสัยรักการอ่านที่ดีสุดให้แก่เยาวชน คือ การทำเป็นตัวอย่าง
ทุกวันนี้หลานชายที่อยู่ ป.1 ชอบอ่านหนังสือ
อ่านเขียนได้คล่อง เพราะเขาเห็นทุกคนในบ้านอ่านหนังสือมาตั้งแต่เขาเล็กๆ
จึงซึมซับและกลายเป็นคนรักการอ่านตาม
ประเสริฐ บุญเรือง เลขาธิการ กศน. กล่าวว่า กศน.
ได้จัดทำโครงการบ้านหนังสืออัจฉริยะ
เพื่อให้เป็นห้องสมุดประจำหมู่บ้านสำหรับประชาชน ช่วยส่งเสริมให้คนไทยรักการอ่านบ้านหนังสืออัจฉริยะ
ยังช่วยการกระจายโอกาสการเข้าถึงองค์ความรู้
ข่าวสารได้อย่างทั่วถึงและกว้างขวางด้วย
ช่วงแรกมีเป้าหมายจัดตั้งบ้านหนังสืออัจฉริยะในพื้นที่ปกติ 4 หมื่นหมู่บ้าน จาก 8 หมื่นหมู่บ้านและจัดตั้งในพื้นที่ 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้
และ 4 อำเภอของ จ.สงขลา 1,800 แห่ง
"โดยได้สนับสนุนงบประมาณแห่งละ 11,500 บาท เพื่อจัดหาหนังสือเข้าห้องสมุด
นอกจากบ้านหนังสืออัจฉริยะจะเป็นแหล่งจัดกิจกรรมต่อเนื่องเพื่อส่งเสริมการอ่านหนังสือ
กิจกรรมอื่นๆ เช่น การอ่านหนังสือธรรมะ มีกิจกรรมนั่งวิปัสสนา นั่งสมาธิ
กิจกรรมสร้างรายได้ รวมถึงเป็นสถานที่จัดอบรมฝึกอาชีพด้วย" เลขาธิการ
กศน.กล่าวด้วยรอยยิ้ม
ประเสริฐ บอกด้วยว่า
เมื่อบ้านหนังสืออัจฉริยะเฟสแรกเสร็จเรียบร้อยแล้ว ในปี 2557 กศน.จะจัดตั้งบ้านหนังสือในอีก
4 หมื่นหมู่บ้านที่เลือกที่สุดแล้ว ทุกหมู่บ้านจะมีห้องสมุดขนาดย่อมนี้ครบทุกแห่ง
พงศ์เทพ เทพกาญจนา รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ
ยืนยันความสำคัญของการอ่านหนังสือว่า
มีหลายคนที่ได้ดีจากการอ่านหนังสือเพียงเล่มเดียว
เป็นการอ่านหนังสือที่ช่วยเปลี่ยนชีวิต อีกทั้งปัจจุบันแม้จะมีเทคโนโลยีไฮเทคต่างๆ
เช่น สมาร์ทโฟน ไอแพด แท็บเล็ต แต่หนังสือก็ยังมีความสำคัญอยู่
เพราะไม่ใช่ทุกคนที่จะสามารถหาความรู้และรับข้อมูลข่าวสารจากเทคโนโลยีได้
ความรู้ต่างๆ ในหนังสือก็ไม่ได้มีอยู่ในอุปกรณ์เทคโนโลยีสมัยใหม่ครบทั้งหมด
“กระทรวงศึกษาฯ หวังว่า
จะมีผู้มีจิตศรัทธายอมเปิดบ้านตนเองให้เป็นแหล่งเรียนรู้ของชุมชน
ทำให้สาธารณชนได้เห็นประโยชน์ของการอ่านและกิจกรรมเหล่านี้
โดยช่วยกันบริจาคหนังสือเข้ามาเยอะๆ
เพื่อก่อให้เกิดประโยชน์ต่อการพัฒนาความรู้ของคนไทย
และสอดคล้องกับนโยบายที่รัฐบาลต้องการให้ประชาชนเรียนรู้ตลอดชีวิต“ รมว.ศึกษาธิการ กล่าว
ศูนย์ฝึกอาชีพชุมชน
ประวัติความเป็นมา
จากการที่กระทรวงศึกษาธิการมีแผนยุทธศาสตร์ในการขับเคลื่อนทางการศึกษาเพื่อรองรับการเปลี่ยนแปลงของบริบทโลก
และได้กำหนดยุทธศาสตร์ ๒๕๕๕ ภายในกรอบระยะเวลา ๒ ปี
กระทรวงศึกษาธิการจะสามารถพัฒนา ๕ ศักยภาพของพื้นที่ใน ๕
กลุ่มอาชีพใหม่ให้สามารถแข่งขันได้ใน ๕ ภูมิภาคหลักของโลก "รู้เขา รู้เรา
เท่าทัน เพื่อแข่งขันได้ในเวทีโลก"
และได้กำหนดภารกิจที่จะพัฒนายกระดับการจัดการศึกษาเพื่อเพิ่มศักยภาพและขีดความสามารถให้ประชาชนได้มีอาชีพที่สามารถสร้างรายได้ที่มั่งคั่งและมั่นคง
เพื่อเป็นบุคคลที่มีวินัยเปี่ยมไปด้วยคุณธรรม
จริยธรรมมีจิตสำนึกความรับผิดชอบต่อตนเอง ผู้อื่น และสังคมจากยุทธศาสตร์ดังกล่าวได้จัดให้มีศูนย์ฝึกอาชีพชุมชนขึ้นในระดับจังหวัดทุกจังหวัดโดยมีผู้แทนองค์กรหลักในระดับจังหวัดเป็นคณะกรรมการ
และมีผู้อำนวยการสำนักงาน กศน.จังหวัดเป็นกรรมการและเลขานุการ ในการขับเคลื่อนศูนย์ฝึกอาชีพชุมชนดังกล่าว
สำนักงาน กศน.จังหวัดหนองคาย จึงได้จัดตั้ง
กลุ่มงานศูนย์ฝึกอาชีพชุมชนจังหวัดหนองคายขึ้นมา
เริ่มดำเนินการตั้งแต่วันพฤหัสบดีที่ ๑๓ ตุลาคม พ.ศ. ๒๕๕๔ เป็นต้นไป
เปิดโครงการศูนย์ฝึกอาชีพชุมชน : OTOP Mini MBA
รมว.ศธ.กล่าวว่า
กระทรวงศึกษาธิการ โดย กศน.ยึดหลักการดำเนินงานตามนโยบายด้านการศึกษาของรัฐบาล“คิดใหม่ ทำใหม่ เพื่อคุณภาพการศึกษาของคนไทย” ที่กำหนดให้การศึกษาเป็นส่วนหนึ่งของนโยบายด้านสังคมและคุณภาพชีวิตของสังคมไทย
และเป็นนโยบายเร่งด่วนที่จะยกระดับความรู้ ความสามารถ ทักษะอาชีพของประชาชน
และนโยบายการเพิ่มขีดความสามารถในการผลิต
การสร้างมูลค่าเพิ่มสินค้าและผลิตภัณฑ์ชุมชน OTOPเพื่อให้ประชาชนมีอาชีพมีรายได้
เพื่อสร้างความมั่นคงทางเศรษฐกิจและสังคมแห่งการเรียนรู้ จึงได้จัดทำโครงการศูนย์ฝึกอาชีพชุนชน
หรือ OTOP Mini MBA ในพื้นที่จังหวัดต่างๆ โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อสร้างความรู้ความเข้าใจให้แก่คณะกรรมการศูนย์ฝึกอาชีพชุมชนจังหวัด
ผู้บริหาร กศน.จังหวัด/อำเภอ/เขต/ตำบล ครูอาสาสมัคร กศน. ครู ศรช.
และผู้เกี่ยวข้องเกี่ยวกับโครงการจัดการศึกษาเพื่อพัฒนาอาชีพของศูนย์ฝึกอาชีพชุมชน
ชี้แจงการนำแนวนโยบายและแนวทางการขับเคลื่อนโครงการศูนย์ฝึกอาชีพชุมชนรวมไปถึงการบูรณาการนโยบายการพัฒนาสินค้าและผลิตภัณฑ์ชุมชน
(OTOP) ของรัฐบาล
ภายใต้โครงการศูนย์ฝึกอาชีพชุมชน โดยการจัดหลักสูตรการฝึกอบรมวิชาชีพระยะสั้น OTOP Mini MBA ให้แก่ผู้ลงทะเบียนผลิตภัณฑ์ OTOP และประชาสัมพันธ์ให้สังคมและประชาชนได้รับรู้เกี่ยวกับการจัดการศึกษาเพื่อพัฒนาอาชีพของศูนย์ฝึกอาชีพชุมชน
ของสำนักงาน กศน. ในการที่จะส่งเสริมให้ประชาชนทุกระดับ ทุกเพศ ทุกวัย ได้มีอาชีพ
มีงานทำ มีรายได้อย่างมั่นคง
การดำเนินการตามโครงการ
ได้แต่งตั้ง “คณะกรรมการศูนย์ฝึกอาชีพชุมชนจังหวัด” โดยมอบหมายให้ผู้อำนวยการสำนักงาน
กศน.จังหวัด ทำหน้าที่เป็นเลขานุการคณะกรรมการการขับเคลื่อนนโยบายด้านการพัฒนาสินค้าและผลิตภัณฑ์ชุมชน (OTOP) ในเบื้องต้น
กศน.ได้พัฒนาหลักสูตรการฝึกอบรมวิชาชีพระยะสั้น OTOP Mini MBA ให้แก่ผู้ลงทะเบียนผลิตภัณฑ์ OTOP เพื่อขยายโอกาสในการพัฒนาสินค้า ผลิตภัณฑ์ และการบริการ
รวมไปถึงการยกระดับคุณภาพ การสร้างมูลค่าเพิ่ม ช่องทางการจำหน่ายและการส่งออก
นอกจากนี้
โครงการศูนย์ฝึกอาชีพชุมชน
ได้กำหนดจัดการศึกษาให้กับประชาชนในหลักสูตรบริหารธุรกิจระยะสั้นโดยไม่เสียค่าใช้จ่ายประกอบด้วยรายวิชาหลัก ได้แก่การบริหารจัดการธุรกิจสินค้า OTOP, ธุรกิจ OTOP ส่งออก, การตลาดและช่องทางการจำหน่าย
และภาษาอังกฤษธุรกิจ ซึ่งจะทำให้ประชาชนมีความรู้ด้านการเงิน การบัญชีการขายสินค้าบนอินเทอร์เน็ต การบริหารบุคคลเมื่อจบหลักสูตรประชาชนก็จะสามารถทำธุรกิจได้ด้วยตนเอง บนพื้นฐานความรู้ด้านการขายการตลาด สามารถคำนวณต้นทุน ค่าแรง ดอกเบี้ย สามารถคิดค้นพัฒนาผลิตภัณฑ์
บรรจุภัณฑ์ได้ด้วยตนเอง ขายสินค้า หาตลาดทั้งในและต่างประเทศได้เอง
และไม่จำเป็นต้องขายสินค้าครั้งละมากๆ ในราคาที่ถูกอีกต่อไป
ข่าวประชาสัมพันธ์รับสมัครนักศึกษา
ข่าวประชาสัมพันธ์รับสมัครนักศึกษา
มีให้เลือก 1 แบบ
1. แบบพบกลุ่ม
(พบกลุ่มสัปดาห์ละ 1 ครั้ง จำนวน 6 ชั่วโมง)หลักฐานการสมัคร มีดังนี้
1. สำเนาวุฒิการศึกษา จำนวน 2 ใบ (พร้อมฉบับจริง)
2. รูปถ่าย 1 นิ้ว จำนวน 3 ใบ (เสื้อเชิ้ตสีขาว)
3. สำเนาทะเบียนบ้าน จำนวน 2 ใบ
4. สำเนาบัตรประชาชน จำนวน 2 ใบ
5. สำเนาเอกสารที่เกี่ยวข้อง เช่น ใบเปลี่ยนชื่อ – สกุล, ใบทะเบียนสมรส, ใบหย่า ฯลฯ
กำหนดการรับสมัครเรียน นักศึกษาใหม่
วันที่ 1-30 เมษายน 2556 เวลา 08.30 – 16.30 น. ณ กศน.อำเภอหล่มสัก ตำบลหล่มสัก อำเภอหล่มสัก จังหวัดเพชรบูรณ์
โทรศัพท์ 056-701661 รับสมัครทุกวันไม่เว้นวันหยุดราชการ
หมายเหตุ
1. เอกสารการสมัครเรียนต้องครบตามจำนวนที่ระบุไว้
2. ระดับประถมศึกษา ม.ต้น และ ม.ปลาย อายุจะต้องครบ 16 ปีบริบูรณ์
(ถ้าอายุยังไม่ครบ 16 ปี ให้ไปขอหนังสือรับรองจากเขตพื้นที่การศึกษามาก่อน ทาง กศน. จึงจะรับสมัครเรียน)
ติดต่อสอบถามสมัครเรียนได้ที่
กศน.อำเภอหล่มสัก โทรศัพท์ 056-701661 รับสมัครตามวัน เวลาที่ระบุดังกล่าวต้องการจะเรียนที่ศูนย์ไหนให้แจ้งในวันที่ไปสมัครเรียน มีทั้งหมด 22 กศน.ตำบล
กศน.ตำบลท่าอิบุญ สมัครเรียน ติดต่อ อาจารย์ กัญจนา วันชัย โทร. 088-281-1187
สำหรับนักศึกษาเก่า
ลงทะเบียนเรียน และลงทะเบียนสอบซ่อม
ตั้งแต่วันที่ 1-30 เมษายน 2556 ณ กศน.อำเภอหล่มสัก ตำบลหล่มสัก อำเภอหล่มสัก จังหวัดเพชรบูรณ์
ดอกไม้และต้นไม้ประจำจังหวัด
ดอกไม้และต้นไม้ประจำจังหวัด
ราชพฤกษ์ เป็นดอกไม้ประจำชาติ และต้นไม้ประจำชาติไทย แล้วมีใครรู้บ้างเอ่ย ว่าแต่ละจังหวัดก็มีดอกไม้ประจำจังหวัดเช่นกัน นึกออกไหมว่า ดอกไม้และต้นไม้ประจำจังหวัดของคุณคืออะไร
ถ้านึกไม่ออก รวบรวมมาฝากค่ะ (บางจังหวัดไม่มีดอกไม้ประจำจังหวัดนะคะ)
<!--[if !supportLineBreakNewLine]-->
<!--[endif]-->
ราชพฤกษ์ เป็นดอกไม้ประจำชาติ และต้นไม้ประจำชาติไทย แล้วมีใครรู้บ้างเอ่ย ว่าแต่ละจังหวัดก็มีดอกไม้ประจำจังหวัดเช่นกัน นึกออกไหมว่า ดอกไม้และต้นไม้ประจำจังหวัดของคุณคืออะไร
ถ้านึกไม่ออก รวบรวมมาฝากค่ะ (บางจังหวัดไม่มีดอกไม้ประจำจังหวัดนะคะ)
<!--[if !supportLineBreakNewLine]-->
<!--[endif]-->
ภาคเหนือ
1.
จังหวัดกำแพงเพชร
ดอกพิกุล
ต้นสีเสียดแก่น
2. จังหวัดเชียงราย
ดอกพวงแสด
ต้นกาสะลองคำ
3. จังหวัดเชียงใหม่
ดอกทองกวาว
ต้นทองกวาว
4. จังหวัดตาก
ดอกเสี้ยวดอกขาว
ต้นแดง
5. จังหวัดนครสวรรค์
ดอกเสลา
ต้นเสลา
6. จังหวัดน่าน
ดอกเสี้ยวดอกขาว
ต้นกำลังเสือโคร่ง
<!--[if !supportLineBreakNewLine]-->
<!--[endif]-->
ดอกพิกุล
ต้นสีเสียดแก่น
2. จังหวัดเชียงราย
ดอกพวงแสด
ต้นกาสะลองคำ
3. จังหวัดเชียงใหม่
ดอกทองกวาว
ต้นทองกวาว
4. จังหวัดตาก
ดอกเสี้ยวดอกขาว
ต้นแดง
5. จังหวัดนครสวรรค์
ดอกเสลา
ต้นเสลา
6. จังหวัดน่าน
ดอกเสี้ยวดอกขาว
ต้นกำลังเสือโคร่ง
<!--[if !supportLineBreakNewLine]-->
<!--[endif]-->
7.
จังหวัดพะเยา
สารภี
ต้นสารภี
8. จังหวัดพิจิตร
ดอกบัวหลวง
ต้นบุนนาค
9. จังหวัดพิษณุโลก
ดอกนนทรี
ต้นปีบ
10. จังหวัดเพชรบูรณ์
ดอกมะขาม
ต้นมะขาม
11. จังหวัดแพร่
ดอกยมหิน
ต้นยมหิน
12. จังหวัดแม่ฮ่องสอน
ดอกบัวตอง
ต้นกระพี้จั่น
13. จังหวัดลำปาง
ดอกธรรมรักษา
ต้นกระเจา
14. จังหวัดลำพูน
ดอกทองกวาว
ต้นจามจุร
<!--[endif]-->
สารภี
ต้นสารภี
8. จังหวัดพิจิตร
ดอกบัวหลวง
ต้นบุนนาค
9. จังหวัดพิษณุโลก
ดอกนนทรี
ต้นปีบ
10. จังหวัดเพชรบูรณ์
ดอกมะขาม
ต้นมะขาม
11. จังหวัดแพร่
ดอกยมหิน
ต้นยมหิน
12. จังหวัดแม่ฮ่องสอน
ดอกบัวตอง
ต้นกระพี้จั่น
13. จังหวัดลำปาง
ดอกธรรมรักษา
ต้นกระเจา
14. จังหวัดลำพูน
ดอกทองกวาว
ต้นจามจุร
<!--[endif]-->
15.
จังหวัดสุโขทัย
ดอกบัวหลวง ต้นตาลโตนด (ต้นไม้พระราชทานคือ มะค่าโมง)
16. จังหวัดอุตรดิตถ์
ต้นดอกประดู่
<!--[if !supportLineBreakNewLine]-->
<!--[endif]-->
<!--[endif]-->ดอกบัวหลวง ต้นตาลโตนด (ต้นไม้พระราชทานคือ มะค่าโมง)
16. จังหวัดอุตรดิตถ์
ต้นดอกประดู่
<!--[if !supportLineBreakNewLine]-->
<!--[endif]-->
<!--[endif]-->
สมัครสมาชิก:
บทความ (Atom)